Popular Post


วาดรูปทรงพื้นฐาน

รูปแบบการวาดภาพ
การวาดภาพจากโปรแกรม Flash สามารถแบ่งออกเป็น รูปแบบ ดังนี้
   1. การวาดภาพแบบ Shape
   2. การวาดภาพแบบ Object Drawing



ี้
1) การวาดแบบ Shape รูปทรงที่วาดจะมีผลต่อรูปทรงอื่น เช่น เมื่อนำรูปทรงที่มีพื้นเป็นสีเดียวมาซ้อนทับ ก็จะถูกรวมเป็นชิ้นเดียวกัน แต่หากมีสีแตกต่าง เมื่อเคลื่อนย้ายส่วนที่ถูกซ้อนทับก็จะหายไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถวาดได้ด้วยการคลิกยกเลิกปุ่ม Object Drawing









2) การวาดแบบ Object Drawing ซึ่งรูปทรงทั้งในส่วนของเส้นและพื้นผิวจะกลายเป็นชิ้นเดียวกัน หากนำมาซ้อนทับก็จะไม่ส่งผลทำให้รูปทรงเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปแต่อย่างใด โดยสามารถวาดได้โดยการคลิกปุ่ม Object Drawing  ซึ่งจะปรากฏกรอบสี่เหลี่ยมขึ้นมาเมื่อเลือกหรือวาดรูปทรงเสร็จ









การกำหนดคุณสมบัติของรูปทรง
เริ่มต้นก่อนที่จะวาดภาพใด ๆ อาจกำหนดค่าคุณสมบัติเกี่ยวกับส่วนของเส้นและพื้นของรูปทรง แล้วจึงเลือกปุ่มเครื่องมือ เพื่อวาดภาพต่างๆ ก็ได้ ซึ่งค่าคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นดังนี้

 Stroke Color สีเส้น

 Stroke Height ความหนาของเส้น

 Stroke Style รูปแบบของเส้น

 Custom Stroke Style เลือกกำหนดรูปแบบเส้นเอง

 Cap รูปแบบของปลายเส้น สำหรับรูปทรงแบบปลายเปิด โดยมีให้เลือก แบบ ดังนี้

 - None ปลายเส้นมีลักษณะเป็นเส้นตัดพอดีกับความยาวของเส้น

 - Round ปลายเส้นมีลักษณะโค้งมน

 - Square ปลายเส้นมีลักษณะเป็นเส้นตัดออกมา

 Fill Color สีพื้น

 Stroke hinting ช่วยลดการเบลอในส่วนโค้งของเส้นตรง

 Scale ความหนาของเส้นที่สัมผัสกับมุมมอง

Miter ความแหลมของมุม โดยจะสัมพันธ์กับรูปแบบของมุมที่กำหนดไว้ในช่อง Join

 Join รูปแบบของมุม โดยมีให้เลือก แบบ ดังนี้
  - Miter มุมแหลม

 - Round มุมโค้งมน

 - Beval มุมตัด

การวาดเส้น
การวาดเส้นสามารถแบ่งได้เป็นการวาดเส้นตรงด้วย Line Tool และการวาดเส้นอิสระด้วย Pencil Tool โดยสีที่ปรากฏขึ้นมาจะเป็นสีที่เลือกไว้ในช่อง Stroke Color

1) การวาดเส้นตรงด้วย Line Tool
การวาดเส้นตรงจะมีรูปแบบการทำงานที่ง่าย เพียงเลือกกำหนดสี ขนาดความหนา และลวดลาย จากส่วนของ Properties ก่อนจากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
  1. คลิกปุ่ม Line Tool  ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยน เป็น +
  2. คลิกเมาส์ ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่ม
  3. ลากเมาส์มายังตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏเส้นตรงขึ้นมา โดยสามารถกดปุ่มค้างไว้ในขณะลากเมาส์ได้ ดังนี้
  • ปุ่ม Shift เปลี่ยนทิศทางของเส้นไปครั้งละ 45 องศา
  • ปุ่ม Alt ให้จุดเริ่มต้นเป็นจุดศูนย์กลางของเส้น


















2) การวาดเส้นอิสระด้วย Pencil Tool
การวาดเส้นอิสระด้วย Pencil Tool ผลงานที่ได้จะมีลักษณะเหมือนกับการใช้ดินสอวาดภาพลงบนกระดาษ โดยสามารถเลือกปรับให้เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือเป็นเส้นอิสระได้
  1. คลิกปุ่ม Pencil Tool  ที่พาเนล หรือกดปุ่ม จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็น +
  2. สามารถเลือกปรับรูปแบบของเส้นได้ เช่น
 - Straighten ปรับให้เป็นเส้นตรง
 - Smooth ปรับให้เป็นเส้นโค้ง โดยสามารถปรับความโค้งมนได้ที่ช่อง Smoothing ของ Properties
 - Ink ไม่มีการปรับรูปแบบใดๆ ให้ภาพใกล้เคียงการวาดมากที่สุ
  1. ลากเมาส์วาดรูปทรงที่ต้องการ โดยสามารถกดปุ่ม Shift ค้างไว้ เพื่อวาดเส้นตรงในแนวตั้งหรือแนวนอน



















การวาดรูปทรงเรขาคณิต
1) วาดรูปสี่เหลี่ยมด้วย Rectangle Tool
การวาดรูปสี่เหลี่ยมด้วย Rectangle Tool จะสามารถปรับแต่งเส้น Path ด้วยปุ่มเครื่องมือ Pen ได้ แต่จะต้องกำหนดค่าความโค้งของมุมก่อนที่จะทำการวาด สำหรับขั้นตอนมีดังนี้
    1. คลิกปุ่ม Rectangle Tool  ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็น +
    2. กำหนดค่าคุณสมบัติพร้อมทั้งความโค้งของมุมทั้ง ของรูปสี่เหลี่ยมลงใน Properties โดยในที่นี้ใช้ค่า ซึ่ง จะได้เป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก
    3. คลิกเมาส์ ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น
    4. ลากเมาส์ทแยงไปยังตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏรูปสี่เหลี่ยมขึ้นมา โดยสามารถกดปุ่มค้างไว้ในขณะลากเมาส์ได้ ดังนี้
      • ปุ่ม Shift วาดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
      • ปุ่ม Alt วาดรูปสี่เหลี่ยมออกมาจากศูนย์กลาง
      • ปุ่ม  เพิ่มความโค้งของมุม
      • ปุ่ม  ลดความโค้งของมุม
      • ปุ่ม Alt ค้างไว้และคลิกลงบนสเตจ เพื่อกำหนดค่าในการวาดรูปสี่เหลี่ยมที่มีขนาดแน่นอน





























2) วาดรูปสี่เหลี่ยมพร้อมปรับแต่งรูปทรงด้วย Rectangle Primitive Tool
เมื่อวาดรูปสี่เหลี่ยมด้วยปุ่ม Rectangle Primitive Tool จะปรากฏจุดควบคุมขึ้นมา ซึ่งช่วยให้สามารถปรับแต่งรูปทรงในภายหลังได้ และหากกดปุ่มต่างๆ ค้างไว้ก็จะให้ผลเช่นเดียวกับการสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้วยปุ่ม Rectangle Tool
  1. คลิกปุ่ม Rectangle Primitive Tool  ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็น +
  2. คลิกเมาส์ ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น
  3. ลากเมาส์ทแยงไปยังตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏรูปสี่เหลี่ยมพร้อมทั้งจุดควบคุมขึ้นมา ซึ่งสามารถพิมพ์เปลี่ยนค่าความโค้งของมุมทั้ง ลงใน Properties หรือให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 4
  4. คลิกปุ่ม Selection Tool  ที่ทูลพาเนล หรือจะกดปุ่ม V
  5. คลิกบริเวณมุมของรูปสี่เหลี่ยม ลากเมาส์เข้า-ออกเปลี่ยนความโค้งมนของมุม ได้ตามต้องการ





















3) วาดรูปวงกลมด้วย Oval Tool
การวาดรูปวงกลมจะสามารถกำหนดค่าคุณสมบัติต่างๆ พร้อมทั้งค่ามุมเริ่มต้น มุมสุดท้าย และรัศมีวงกลมใน รวมถึงกำหนดให้เป็นรูปทรงแบบปิดหรือแบบเปิดที่มีเฉพาะเส้นก็ได้
  1. คลิกปุ่ม Oval Tool  ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยน เป็น +
  2. กำหนดค่าคุณสมบัติพร้อมทั้งค่ามุมเริ่มต้น มุมสุดท้าย และรัศมีวงกลมในของรูปวงกลม ลงใน Properties โดยในที่นี้ใช้ค่า ซึ่งจะได้เป็นรูปวงกลม/วงรี
  3. คลิกเมาส์ ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น
  4. ลากเมาส์ทแยงไปยังตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏรูปวงกลมขึ้นมา
      • ปุ่ม Shift วาดรูปวงกลม
      • ปุ่ม Alt วาดรูปวงกลมออกมาจากศูนย์กลาง
      • ปุ่ม Alt ค้างไว้และคลิกลงบนสเตจ เพื่อกำหนดค่าในการวาดรูปวงกลมที่มีขนาดแน่นอน




























4) วาดรูปวงกลมพร้อมปรับแต่งรูปทรงด้วย Oval Primitive Tool
สำหรับรุปวงกลมที่สร้างด้วยปุ่ม Oval Primitive Tool จะสามารถเลือกกำหนดค่าคุณสมบัติหรือเลือกปรับแต่งรูปทรงจากจุดควบคุมที่ปรากฏขึ้นมาในภายหลังก็ได้
  1. คลิกปุ่ม Oval Primitive Tool  ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็น +
  2. คลิกเมาส์ ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น
  3. ลากเมาส์ทแยงไปยังตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏรูปวงกลมพร้อมทั้งจุดควบคุมขึ้นมา ซึ่งสามารถพิมพ์เปลี่ยนค่าลงใน Properties หรือให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 4
  4. คลิกปุ่ม Selection Tool  ที่ทูลพาเนล หรือจะกดปุ่ม V
  5. คลิกที่จุดควบคุม
  6. ลากเมาส์ขึ้น-ลง เพื่อปรับมุมเริ่มต้น
  7. คลิกที่จุดควบคุม
  8. ลากเมาส์ขึ้น-ลง เพื่อปรับมุมสุดท้าย
  9. คลิกที่จุดควบคุม
  10. ลากเมาส์เข้า-ออก เพื่อปรับรัศมีของวงกลมด้านใน































5) วาดรูปหลายเหลี่ยม/รูปดาวด้วย PolyStar Tool
สำหรับปุ่ม PolyStar Tool จะช่วยให้สามารถวาดรูปหลายเหลี่ยมหรือรูปดาวได้ตามต้องการ โดยสามารถกำหนดด้านหรือแฉกได้ตั้งแต่ 3-32 ด้าน
  1. คลิกปุ่ม PolyStar Tool  ที่ทูลพาเนลจากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็น
  2. ที่ Properties ให้คลิกปุ่ม  จากนั้นปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Tool Settings ขึ้นมา
  3. ที่ช่อง Style ให้คลิกเลือกรูปแบบของรูปทรง โดยมีรายละเอียดดังนี้
    • polygon วาดรูปหลายเหลี่ยม
    • star วาดรูปดาว
  4. พิมพ์จำนวนด้าน/แฉกลงในช่อง Number of Sides โดยพิมพ์ค่าได้ตั้งแต่ 3-32
  5. พิมพ์ค่าความลึกของแฉกดาวลงในช่อง Star point size โดยพิมพ์ค่าได้ตั้งแต่ 0-1 ซึ่งค่า รูปดาวจะมีความแหลมมากที่สุด
  6. คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันคำสั่ง
  7. คลิกเมาส์ ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น
  8. ลากเมาส์ทแยงออกมาจากจุดศูนย์กลาง เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏรูปหลายเหลี่ยม/รูปดาว ขึ้นมา






























การใช้แปรงพู่กัน
Brush Tool เปรียบเสมือนแปรงพู่กันที่ใช้วาดภาพลาดเส้นหรือระบายสีลงบนรูปทรงต่างๆ โดยสามารถกำหนดขนาดของหัวแปรง ลักษณะของหัวแปรง และรูปแบบในการระบายสีได้ด้วย
1) วาดภาพลายเส้นด้วย Brush Tool
การวาดเส้นอิสระด้วย Pencil Tool สีที่ปรากฏขึ้นมาจะเป็นสีเส้น (Stroke) แต่สำหรับการวาดภาพลายเส้นด้วย Brush Tool จะใช้สีพื้น (Fill) แทน สำหรับขั้นตอนมีดังนี้
  1. คลิกปุ่ม Brush Tool  ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม  
  2. คลิกปุ่ม Brush Size  ค้างไว้ และเลือกขนาดของหัวแปรง
  3. คลิกปุ่ม Brush Shape  ค้างไว้ และเลือกลักษณะของหัวแปรง
  4. ลากเมาส์วาดรูปทรงที่ต้องการ โดยสามารถกดปุ่ม Shift ค้างไว้ เพื่อวาดเส้นตรงในแนวตั้งหรือแนวนอน





















2) ระบายสีด้วย Brush Tool
นอกจากการวาดภาพลายเส้นแล้ว Brush Tool ยังสามารถใช้ระบายสีได้อีก โดยหากกำหนดขนาดและลักษณะของหัวแปรงเรียบร้อยแล้ว ก็ยังสามารถเลือกรูปแบบในการระบายสีได้ด้วย
  1. คลิกปุ่ม Brush Tool  ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม B
  2. คลิกปุ่ม Brush Mode  ค้างไว้ แล้วเลือกรูปแบบในการระบายสี
    •  Paint Normal ระบายทับเส้นและพื้นของรูปทรง
    •  Paint Fills ระบายทับเฉพาะส่วนของพื้นโดยไม่มีผลต่อเส้น
    •  Paint Behind ระบายเป็นพื้นหลังโดยไม่มีผลต่อรูป
    •  Paint Selection ระบายเฉพาะพื้นของบริเวณที่เลือกโดยไม่มีผลต่อเส้นและพื้นหลัง
    •  Paint Inside ระบายภายในขอบเขตของพื้นที่ด้านใน
  1. ลากเมาส์ระบายสีลงบนรูปทรงได้ตามต้องการ






















การลบรูปทรง
การลบด้วยปุ่ม Eraser Tool จะสามารถเลือกลบทั้งรูปทรงหรือเลือกลบเฉพาะเส้นหรือพื้นก็ได้ อีกทั้งยังสามารถเลือกเปลี่ยนขนาดและลักษณะของหัวยางลบได้อีกด้วย
1) ลบรูปทรงด้วย Eraser Tool
เมื่อเลือกลบรูปทรงด้วย Eraser Tool จะมีรูปแบบในการลบเพิ่มขึ้นมาให้เลือก เช่น สามารถลบเส้นและพื้น ลบเฉพาะพื้น ลบเฉพาะเส้น ลบเฉพาะส่วนที่เลือก หรือลบเฉพาะขอบเขตของพื้นที่ด้านในก็ได้ สำหรับขั้นตอนมีดังนี้
  1. คลิกปุ่ม Eraser Tool  ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม  
  2. คลิกปุ่ม Eraser Mode  ค้างไว้ แล้วเลือกรูปแบบในการลบ
    •  Eraser Normal ลบเส้นและพื้นของรูปทรง
    •  Eraser Fills ลบเฉพาะส่วนของพื้นโดยไม่มีผลต่อเส้น
    •  Eraser Lines ลบเฉพาะส่วนของเส้นโดยไม่มีผลต่อพื้น
    •  Eraser Selected Fills ลบเฉพาะพื้นของบริเวณที่เลือกโดยไม่มีผลต่อเส้น
    •  Eraser Inside ลบภายในขอบเขตของพื้นที่ด้านใน
  1. คลิกปุ่ม Eraser Shape  ค้างไว้ และเลือกขนาดของหัวยางลบ
  2. ลากเมาส์ลบบริเวณพื้นที่ที่ต้องการ






















2) ลบเส้น/พื้นด้วย Eraser Tool โดยใช้ปุ่ม Faucet
ไม่เพียงแต่การลบในรูปแบบปกติเท่านั้น แต่หากต้องการลบเส้นหรือพื้นของรูปทรงอย่างรวดเร็ว ก็สามารถทำได้เพียงคลิกปุ่ม Faucet ไว้ก่อนเท่านั้น สำหรับขั้นตอนมีดังนี้
  1. คลิกปุ่ม Eraser Tool  ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม E
  2. คลิกปุ่ม Faucet   
  3. คลิกลงบนเส้นหรือพื้นของรูปทรงที่ต้องการลบ





















Selection [ การเลือกวัตถุ ]
วัตถุในความหมายนี้ ก็คือ รูปทรง รูปภาพ ภาพกราฟิกที่วาด หรือนำเข้ามาใช้งานใน Flash นั่นเอง การเลือกวัตถุ เป็นขั้นตอนสำคัญในการปรับเปลี่ยน แก้ไข แปลงวัตถุ โดยโปรแกรมเตรียมเครื่องมือเลือกวัตถุดังนี้
  •  Selection Tool สำหรับเลือกวัตถุในสภาวะปกติ
  •  Subselection Tool สำหรับการเลือกวัตถุในโหมดจุดเชื่อม
  •  Lasso Tool สำหรับการเลือกวัตถุที่มีรูปทรงอิสระ หรือกำหนดขอบเขตการเลือกอิสระรวมทั้งการเลือกโดยใช้ค่าสีที่มีค่าเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกวัตถุใน Flash ก็คือ อย่าลืมว่าวัตถุทุกชิ้นเกิดจาก “จุด” หลายๆ จุดมาประกอบรวมกัน และแต่ละวัตถุจะประกอบด้วยโครงสร้างอย่างน้อย ส่วนคือ ส่วนที่เป็น “Fill” และส่วนที่เป็น “Stroke” ดังนี้








การเลือกวัตถุ หรือกลุ่มวัตถุด้วย Selection Tool
  • คลิกเลือกเครื่องมือ Selection Tool 
  • เลือกวัตถุ โดยยึดหลักดังนี้
    • เลือกเส้นขอบของวัตถุ นำเมาส์ไปชี้ที่เส้นขอบวัตถุ แล้วคลิกหรือ ดับเบิลคลิก
    • เลือกพื้นวัตถุ นำเมาส์ไปชี้ที่พื้นวัตถุ แล้วคลิกหรือ ดับเบิลคลิก
    • เลือกวัตถุทั้งชิ้น นำเมาส์ไปชี้ที่วัตถุ แล้วดับเบิลคลิ
    • เลือกวัตถุทั้งชิ้น นำเมาส์ไปชี้ ณ ตำแหน่งมุมของวัตถุ แล้วลากกรอบสี่เหลี่ยมคลุมวัตถ
    • เลือกวัตถุหลายๆ ชิ้น นำเมาส์ไปชี้ ณ ตำแหน่งมุมของวัตถุ แล้วลากกรอบสี่เหลี่ยมคลุมวัตถุ
    • เลือกวัตถุหลายๆ ชิ้น คลิกวัตถุชิ้นที่ กดปุ่ม Shift ค้างไว้ แล้วคลิกวัตถุชิ้นถัดไปเรื่อย
    • เลือกวัตถุทุกชิ้นบน Workspace และ Stage กดปุ่ม Ctrl + A

 Cr : http://www.acr.ac.th

{ 1 ความคิดเห็น... read them below or add one }

- Copyright © คู่มือการใช้งานโปรแกรม - Date A Live - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -